31 ตุลาคม 2553

มาดู TV บน GPS Navigator กันเถอะ

 




GPS Navigator บางรุ่นจะมีการ์ด TV Tuner อยู่ในเครื่อง ทำให้สามารถรับสัญญาณทีวีได้ ซึ่งสัญญาณทีวีนี้มี 2 ชนิด คือ Analog TV และ Digital TV

สำหรับประเทศไทยนั้นใช้สัญญาณทีวีแบบ Analog TV ซึ่งไม่ค่อยมีความคมชัดเท่าที่ควร ต้องอาศัยสายอากาศภายนอกเพื่อให้สามารถรับสัญญาณได้ดีขึ้น

ส่วน Digital TV นั้นมีใช้ในประเทศแถบอเมริกา ยุโรป เอเชียบางประเทศ ความคมชัดของภาพดีกว่า Analog TV เพราะมีสัญญาณรบกวน (Noise Signal) น้อยกว่า และสัญญาณมีการเข้ารหัส (encoding) ที่ดี อุปกรณ์ของเครือข่าย Digital นี้มีราคาค่อนข้างสูง ถ้าจะติดตั้งเครือข่าย Digital TV ทั้งประเทศนั้นจะต้องใช้เม็ดเงินในการลงทุนจำนวนมาก


สัญญาณทีวีนั้น มีการแบ่งแถบความถี่ออกเป็น 2 แถบ คือ VHF (Very High Frequency) กับ UHF (Ultra High Frequency)

VHF มีย่านความถี่ระหว่าง 30-300 MHz ความยาวคลื่นตั้งแต่ 10 เมตรถึง 1 เมตร สัญญาณของย่าน VHF ยังแบ่งย่อยอีก 2 แบบ คือ VHF Low และ VHF High
VHF Low อยู่ในช่วงระหว่าง 47 – 65 MHz
VHF High อยู่ในช่วงระหว่าง 174 – 230 MHz
(VHF High แบ่งได้ 8 ช่อง คือช่อง 5 - 12 แต่ละช่องจะห่างกัน 7 MHz)

ย่าน VHF Low จะเรียกกันทั่วไปว่า ช่อง 2 - 4 สมัยก่อนช่อง 3 อสมท.ใช้ความถี่ย่าน VHF Low ในการแพร่ภาพ แต่ในปัจจุบันทางช่อง 3 ได้เปลี่ยนการแพร่ภาพมายังระบบ UHF ส่วน VHF High นั้นใช้ออกอากาศทางช่อง 5 ( 174 - 181 MHz ) ช่อง 7 (188 - 195 MHz ) ช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ ทีวี ( 202 - 209 MHz ) และ ช่อง 11 ( 216 - 223 MHz )

UHF มีย่านความถี่ที่ระหว่าง 300 - 3000 MHz ความยาวคลื่นตั้งแต่ 1เมตร ถึง 100 มิลลิเมตร สัญญาณโทรทัศน์ UHF อยู่ในช่วงระหว่าง 470–862 MHz (เริ่มตั้งแต่ช่อง 21 - 69 แต่ละช่องห่างกัน 8 MHz ) ซึ่งปัจจุบันมีโทรทัศน์ย่าน UHF 2 ช่องคือ ช่อง TPBS ที่ใช้ความถี่ช่อง 29 ( 534 - 542 MHz ) และ ล่าสุดก็จะมีช่อง 3 ใช้ความถี่ช่อง 32 ( 558 - 566 MHz )

เวลาเราจูนหาความถี่ของทีวีช่องต่างๆที่ GPS นั้น เมื่อค้นหาเจอแล้ว ความถี่ที่ได้จะเป็นความถี่กลางของช่องนั้นๆ ดังนี้
ช่อง 5 – ความถี่ 177.5 MHz
ช่อง 7 – ความถี่ 191.5 MHz
ช่อง 9 – ความถี่ 205.5 MHz
ช่อง 11 – ความถี่ 219.5 MHz
ช่อง 29 (TPBS) – ความถี่ 538 MHz
ช่อง 32 (ช่อง 3 อสมท.) – ความถี่ 562 MHz

ช่อง 3 และ TPBS นั้นอยู่ในแถบความถี่ UHF ทำให้สัญญาณภาพที่ได้นั้นชัดกว่าช่องอื่นที่อยู่ในช่วง VHF เนื่องจากความถี่ย่าน UHF นั้นมีขนาดความยาวคลื่นน้อยกว่า VHF ทำให้มีสัญญาณรบกวนน้อยกว่า

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มีใครงงกันบ้างมั้ยครับ 555 อย่าเพิ่งงงครับ เพราะว่าผมต้องการให้ทุกคนทำความเข้าใจกับทีวี ไม่ว่าจะทีวีตามบ้าน ทีวีติดรถ หรือทีวีบน GPS ตัวโปรดของเรา ดังนี้

- ทีวีตามบ้าน ทีวีติดรถ หรือทีวีบน GPS ในเมืองไทยนั้นเป็นระบบ Analog ต้องใช้เสาอากาศภายนอกถึงจะรับสัญญาณได้ดีขึ้น
- ความชัดเจนของสัญญาณภาพและเสียงที่ได้ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเสาอากาศ, สภาพภูมิประเทศและพื้นที่ของผู้ใช้
- มี 2 ช่องที่รับสัญญาณได้ดีกว่าช่องอื่นๆ คือ ช่อง 3 และ TPBS เนื่องจากอยู่ในช่วงความถี่ UHF
- การใช้งานทีวีบน GPS ในรถนั้น เมื่อรถวิ่งจะทำให้สัญญาณทีวีไม่คงที่ แปรเปลี่ยนไปตามสภาพภูมิประเทศ

หากใครจะเลือกซื้อ GPS รุ่นที่มีทีวีก็ต้องยอมรับข้อดีและข้อเสียที่ผมกล่าวมาทั้งหมดด้วยนะครับ



ดูรายละเอียดของ GPS Navigator ทุกรุ่นได้ที่
http://champbizshop.weloveshopping.com/shop/s_product.php?groupproduct=917412&shopid=178725


อ้างอิงจาก
http://www.thaigaming.com/articles/14836.htm

Introduction of GPS Navigator








GPS Navigator ที่วางขายกันทั่วไปนั้น เป็นอุปกรณ์นำทางแบบพกพา หรือเรียกว่า Personal Navigation Assistant (PNA) หรือ Personal Navigation Device or Portable Navigation Device (PND) ซึ่งอุปกรณืนี้นอกจากใช้ในการนำทางแล้ว ยังสามารถใช้ดูหนัง, ฟังเพลง, อ่าน e-book, เล่นเกมส์ เป็นต้น

บางรุ่นยังมี option เพิ่มเติม เช่น ฟังก์ชัน Bluetooth ซึ่งใช้ในการติดต่อกับโทรศัพท์มือถือ สามารถรับสายเข้า และโทรออกผ่านอุปกรณ์ GPS ได้

บางรุ่นก็มี TV Tuner ซึ่งใช้ดูทีวีได้เลย

ส่วนอุปกรณ์เสริมที่มาพร้อมกับเครื่อง หลักๆก็จะมี ที่ชาร์จไฟในบ้าน, ที่ชาร์จไฟในรถ, ขายึดกับกระจกรถยนต์, แผ่นรองขายึดกระจก, หูฟัง, สาย USB, สาย AV (เฉพาะรุ่นที่มีช่องต่อ AV-in), micro sd card (เฉพาะรุ่นที่ไม่มี memory ภายใน)

ขออธิบายเกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมหน่อยนะครับ

- สาย USB นั้นใช้ต่อจาก GPS ไปยัง PC เพื่อใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลต่างๆ เช่น ไฟล์เพลง, หนัง หรือ โปรแกรมนำทาง หรือถ้าใครมี Card Reader ก็สามารถนำ micro sd card เสียบเข้า card reader แล้วใช้สาย USB เชื่อมต่อจาก Card Reader ไปยัง PC ก็ได้ครับ ไม่ว่ากัน

นอกจากใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลแล้ว เราสามารถใช้สาย USB เชื่อมต่อเข้า PC เพื่อใช้ในการชาร์จแบตของ GPS ได้ด้วย โดยเมื่อเสียบสาย USB ปุ๊บ ที่ครื่อง GPS จะให้เราเลือกว่าจะเข้าสู่โหมดรับ-ส่งข้อมูล หรือ โหมดชาร์จแบตนะครับ

- สาย AV ใช้ต่อจากช่อง AV-in ของ GPS ไปยัง AV-out ของกล้องมองถอยหลัง หรือเครื่องเล่น DVD ต่างๆได้ จ๊าบมั้ยล่ะ

- micro sd card นั้นหลายๆคนก็รู้จักกันดีว่ามันเปรียบเสมือน Hard disk ของ PC ซึ่งใช้เก็บข้อมูลต่างๆ ร้านที่ขาย GPS ส่วนใหญ่จะแถม micro sd card 2GB ให้ลูกค้าเป็นมาตรฐานสำหรับรุ่นที่ไม่มี flash memory ภายใน แต่ถ้ารุ่นใดมี flash memory ภายในก็จะไม่แถม micro sd card ให้

Flash memory ที่มีขายกันทั่วไปนี้ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ NOR Flash และ NAND Flash
- NOR Flash นี้มีโครงสร้างของทรานซิสเตอร์ภายในแบบ NOR Gate ใช้เวลาอ่าน-เขียนข้อมูลนาน, ราคาแพง และขนาดใหญ่ เช่น Compact Flash (CF Card)

- NAND Flash นี้มีโครงสร้างของทรานซิสเตอร์ภายในแบบ NAND Gate ใช้เวลาอ่าน-เขียนข้อมูลเร็ว, ราคาถูก และขนาดเล็ก เช่น RS-MMC, mini sd และ micro sd


ดูรายละเอียดของ GPS Navigator ทุกรุ่นได้ที่
http://champbizshop.weloveshopping.com/shop/s_product.php?groupproduct=917412&shopid=178725



อ้างอิงจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Personal_Navigation_Assistant
http://en.wikipedia.org/wiki/Flash_memory